- ล้างแอร์บ้านติดผนัง ล้างแอร์สะอาด เก็บกวาดเรียบร้อย
- แก้ปัญหาแอร์ไม่เย็น แอร์มีน้ำหยด มีกลิ่นอับ แก้ไขได้ทุกอาการ
- รับซ่อมแอร์ ย้ายแอร์ ติดตั้งแอร์ในราคาไม่แพง
ทีมล้างแอร์ใกล้ฉันที่สุดตอนนี้ ยินดีให้บริการ
ล้างแอร์ใกล้ฉันที่สุดตอนนี้ มีคิวช่างแอร์ว่างอยู่ 2คิว ร้านล้างแอร์ใกล้คุณ ได้คิวช่างแอร์ทันที จองคิวฟรี ไม่มีมัดจำ ไม่มีค่าเดินทาง แถมเติมน้ำยาแอร์ฟรี
รีวิวลูกค้าจริง CAPTAIN AIR SERVICE
ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่รีวิวให้ ทางเราจะพัฒนาการให้บริการดียิ่งขึ้นค่ะ
CAPTAIN AIR SERVICE รวดเร็ว ฉับไว จริงใจให้บริการ ใกล้ไกลไม่มีบวกเพิ่ม
ทีมงานช่างมีประสบการณ์ ทำงานอย่างมืออาชีพ รักษาความสะอาด เก็บกวาดเรียบร้อย ใส่ใจการทำงาน ทำงานตรงต่อเวลา
-
วิธีแก้ปัญหาน้ำแอร์หยด รู้ตั้งแต่สาเหตุ พร้อม...
-
วิธีเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟฟ้า ในช่วงหน้าร้อน
-
ไม่ล้างแอร์-แอร์สกปรก เสี่ยงโรคลีเaจียนแนร์-ไ...
-
อันตรายต่อสุขภาพ หากไม่ล้างแอร์
วิธีแก้ปัญหาน้ำแอร์หยด รู้ตั้งแต่สาเหตุ พร้อมวิธีแก้ไข
เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้นเมื่อติดตั้งเครื่องปรับอากาศแล้วหลายๆ คนก็รู้สึกกังวลหากพบปัญหาต่างๆ เพราะเกรงว่าจะต้องเสียค่าซ่อม บำรุงรักษาตามมาในภายหลัง
ปัญหาน้ำแอร์หยดเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เรามักพบเจอได้ โดยเฉพาะกับเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานมาค่อนข้างนาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว หลายๆ คนรู้สึกกังวลกลัวว่าเครื่องปรับอากาศจะพัง เกิดไฟรั่ว แต่เดี๋ยวก่อนเรามารู้ถึงสาเหตุของปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขกันดีกว่า
สาเหตุของน้ำแอร์หยด
- แอร์อุดตัน
เมื่อเราใช้แอร์ไปสักระยะหนึ่งจะมีทั้งฝุ่น เศษผม ขนสัตว์ ฯลฯ เข้าไปอุดตันภายใน โดยเฉพาะหากที่ผ่านมาเราไม่เคยล้างแอร์เลยสักครั้ง สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก็จะเข้าไปขัดขวางท่อน้ำทิ้ง ทำให้ฟอกอากาศได้ยาก ดังนั้นน้ำทิ้งที่ควรจะไหลออกจากท่อก็ไหลย้อนกลับเข้ามาในเครื่องแทน
- ถาดคอยล์ตัน
เป็นอะไหล่ชิ้นหนึ่งที่อยู่ด้านหลังแผงคีบแอร์ ซึ่งหากพบว่ามีน้ำแอร์หยด นี่จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรตรวจเช็กก่อน หากตรวจสอบเองไม่เป็นให้เรียกผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างแอร์มาตรวจเช็ก ถ้าถาดคอยล์ตันก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำหยดได้
- หุ้มท่อไม่ได้มาตรฐาน
เป็นปัญหาที่เกิดจากเดินท่อภายในไม่ดี เมื่อหุ้มท่อไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดหยดน้ำเกาะรอบๆ จนหยดออกมานอกตัวแอร์ได้
วิธีแก้ปัญหาน้ำแอร์หยด
- ไล่น้ำออกจากท่อน้ำทิ้ง และส่วนปลายท่อ โดยใช้เครื่องเป่าไฟฟ้า ทำความสะอาดให้น้ำแห้งมากที่สุด
- ล้างแอร์ หากล้างด้วยตัวเองเป็นก็ทำได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้เรียกช่างแอร์
- เช็กดูว่าภายในเครื่องมีสัตวจำพวกหนู แมลงต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่หรือเปล่า เพราะสัตว์เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่อแอร์อุดตัน
- ตรวจดูถาดน้ำทิ้งถ้าเลื่อน หรือเคลื่อนที่ให้แก้ไขโดยให้มันอยู่ในตำแหน่งเดิม
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/women/219773/
12 พ.ค. 2566
ปัญหาน้ำแอร์หยดเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เรามักพบเจอได้ โดยเฉพาะกับเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานมาค่อนข้างนาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว หลายๆ คนรู้สึกกังวลกลัวว่าเครื่องปรับอากาศจะพัง เกิดไฟรั่ว แต่เดี๋ยวก่อนเรามารู้ถึงสาเหตุของปัญหา พร้อมวิธีแก้ไขกันดีกว่า
สาเหตุของน้ำแอร์หยด
- แอร์อุดตัน
เมื่อเราใช้แอร์ไปสักระยะหนึ่งจะมีทั้งฝุ่น เศษผม ขนสัตว์ ฯลฯ เข้าไปอุดตันภายใน โดยเฉพาะหากที่ผ่านมาเราไม่เคยล้างแอร์เลยสักครั้ง สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาก็จะเข้าไปขัดขวางท่อน้ำทิ้ง ทำให้ฟอกอากาศได้ยาก ดังนั้นน้ำทิ้งที่ควรจะไหลออกจากท่อก็ไหลย้อนกลับเข้ามาในเครื่องแทน
- ถาดคอยล์ตัน
เป็นอะไหล่ชิ้นหนึ่งที่อยู่ด้านหลังแผงคีบแอร์ ซึ่งหากพบว่ามีน้ำแอร์หยด นี่จึงเป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรตรวจเช็กก่อน หากตรวจสอบเองไม่เป็นให้เรียกผู้เชี่ยวชาญ หรือช่างแอร์มาตรวจเช็ก ถ้าถาดคอยล์ตันก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำหยดได้
- หุ้มท่อไม่ได้มาตรฐาน
เป็นปัญหาที่เกิดจากเดินท่อภายในไม่ดี เมื่อหุ้มท่อไม่ได้มาตรฐานทำให้เกิดหยดน้ำเกาะรอบๆ จนหยดออกมานอกตัวแอร์ได้
วิธีแก้ปัญหาน้ำแอร์หยด
- ไล่น้ำออกจากท่อน้ำทิ้ง และส่วนปลายท่อ โดยใช้เครื่องเป่าไฟฟ้า ทำความสะอาดให้น้ำแห้งมากที่สุด
- ล้างแอร์ หากล้างด้วยตัวเองเป็นก็ทำได้เลย แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ให้เรียกช่างแอร์
- เช็กดูว่าภายในเครื่องมีสัตวจำพวกหนู แมลงต่างๆ เข้าไปอาศัยอยู่หรือเปล่า เพราะสัตว์เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ท่อแอร์อุดตัน
- ตรวจดูถาดน้ำทิ้งถ้าเลื่อน หรือเคลื่อนที่ให้แก้ไขโดยให้มันอยู่ในตำแหน่งเดิม
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/women/219773/
วิธีเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟฟ้า ในช่วงหน้าร้อน
วิธีเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน ผู้ว่าการ MEA มาเฉลยแล้ว
ในช่วงหน้าร้อนนี้เชื่อว่าหลายคนคงตกใจกับบิลค่าไฟฟ้าเดือนล่าสุดที่เพิ่มขึ้นยิ่งกว่าจรวด จนหลายๆ คนเริ่มหาแนวทางแก้ที่จะช่วยลดค่าไฟฟ้าเพื่อประหยัดเงินในกระเป๋าให้ได้มากที่สุด เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เป็นตัวช่วยคลายความร้อนที่ดีในช่วงหน้าร้อน แต่ถ้ากระหน่ำเปิดแอร์บ่อยค่าไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ฉะนั้น การไฟฟ้านครหลวง MEA มีวิธีการเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟฟ้ามาฝากกัน
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA ระบุถึงวิธีการประหยัดค่าไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน ให้เปิดแอร์และปรับอุณหภูมิมาอยู่ที่ระดับ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ หมั่นล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้แนะนำการประหยัดค่าไฟฟ้าในบ้านด้วยการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
ส่วนกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ กฟน. ผ่าน MEA Smart Life Application ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/money/900943/
12 พ.ค. 2566
ในช่วงหน้าร้อนนี้เชื่อว่าหลายคนคงตกใจกับบิลค่าไฟฟ้าเดือนล่าสุดที่เพิ่มขึ้นยิ่งกว่าจรวด จนหลายๆ คนเริ่มหาแนวทางแก้ที่จะช่วยลดค่าไฟฟ้าเพื่อประหยัดเงินในกระเป๋าให้ได้มากที่สุด เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เป็นตัวช่วยคลายความร้อนที่ดีในช่วงหน้าร้อน แต่ถ้ากระหน่ำเปิดแอร์บ่อยค่าไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ฉะนั้น การไฟฟ้านครหลวง MEA มีวิธีการเปิดแอร์แบบประหยัดค่าไฟฟ้ามาฝากกัน
นายวิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA ระบุถึงวิธีการประหยัดค่าไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อน ให้เปิดแอร์และปรับอุณหภูมิมาอยู่ที่ระดับ 26-27 องศาเซลเซียส พร้อมเปิดพัดลมควบคู่ หมั่นล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังได้แนะนำการประหยัดค่าไฟฟ้าในบ้านด้วยการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน ไม่เปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED และอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5
ส่วนกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าขัดข้องสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ กฟน. ผ่าน MEA Smart Life Application ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/money/900943/
ไม่ล้างแอร์-แอร์สกปรก เสี่ยงโรคลีเaจียนแนร์-ไข้ปอนเตียก
หากแอร์มานานแล้วไม่ล้างทำความสะอาดให้ดี อาจเป็นแหล่งสะสมความชื้น ทำให้มีเชื้อโรคเจริญเติบโต เสี่ยงทำป่วยเป็นโรคลีเจียนแนร์และไข้ปอนเตียก
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงอากาศร้อนคนนิยมเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เพื่อคลายร้อนตลอดทั้งกลางวัน กลางคืน แต่การเปิดแอร์สกปรก ไม่ได้มีการล้างแอร์เป็นเวลานาน เกิดความชื้นจากตัวแอร์และท่อน้ำทิ้ง ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
อาการของโรคลีเจียนแนร์และไข้ปอนเตียก นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวว่า ลักษณะอาการที่พบมี 2 แบบคือ
- โรคลิเจียนแนร์ มีอาการปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น
- ไข้ปอนเตียก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคลีเจียนแนร์
- ประชาชนทั่วไปที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอาการป่วยใดๆ สำหรับกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง
วิธีป้องกันโรคลีเจียนแนร์และไข้ปอนเตียก
- ควรมีการล้างทำความสะอาดแอร์เป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสม จากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน
- หากเป็นแอร์ตามบ้านควรล้างแผ่นกรองอากาศด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยใช้น้ำฉีดแรงๆ ที่ด้านหลังและด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้งและ
- ควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากใช้แอร์เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาด 6 เดือนครั้ง เพื่อช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/health/33805/
12 พ.ค. 2566
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงอากาศร้อนคนนิยมเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ เพื่อคลายร้อนตลอดทั้งกลางวัน กลางคืน แต่การเปิดแอร์สกปรก ไม่ได้มีการล้างแอร์เป็นเวลานาน เกิดความชื้นจากตัวแอร์และท่อน้ำทิ้ง ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหากหายใจเอาฝอยละอองน้ำที่มีเชื้อนี้ปนเปื้อนเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
อาการของโรคลีเจียนแนร์และไข้ปอนเตียก นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวว่า ลักษณะอาการที่พบมี 2 แบบคือ
- โรคลิเจียนแนร์ มีอาการปอดอักเสบรุนแรง มีไข้สูง ไอ หนาวสั่น
- ไข้ปอนเตียก มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคลีเจียนแนร์
- ประชาชนทั่วไปที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่มีอาการป่วยใดๆ สำหรับกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำและผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือโรคมะเร็ง
วิธีป้องกันโรคลีเจียนแนร์และไข้ปอนเตียก
- ควรมีการล้างทำความสะอาดแอร์เป็นประจำ โดยดูตามความเหมาะสม จากสภาพแวดล้อมและการใช้งาน
- หากเป็นแอร์ตามบ้านควรล้างแผ่นกรองอากาศด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยใช้น้ำฉีดแรงๆ ที่ด้านหลังและด้านที่ไม่ได้รับฝุ่น ให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกหลุดออกอย่างน้อยเดือนละครั้งและ
- ควรล้างแอร์แบบเต็มระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากใช้แอร์เป็นประจำทุกวัน ควรล้างทำความสะอาด 6 เดือนครั้ง เพื่อช่วยลดเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในแอร์
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/health/33805/
อันตรายต่อสุขภาพ หากไม่ล้างแอร์
แม้ว่าช่วงหน้าฝนอากาศจะไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนหน้าร้อน แต่หลายบ้านยังคงเปิดแอร์กันทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งหากใช้งานโดยไม่ดูแล ไม่ล้างแอร์ตามกำหนด ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ เพราะภายในแอร์นั้นก็มีความชื้นเป็นจำนวนมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้
โรคควรระวังจากการอยู่ในห้องแอร์ และอันตรายจากการไม่ล้างแอร์
โรคลีเจียนแนร์ –เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อลีจิโอเนลลา โดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในละอองฝอยน้ำเข้าสู่ร่างกาย ส่วนอาการคือจะมีไข้ขึ้นสูง ไอ หนาวสั่น ลักษณะโรคลีเจียนแนร์จะเป็นชนิดแบบรุนแรง จึงมีภาวะปอดอักเสบด้วย ทำให้การหายใจล้มเหลวและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โรคไข้ปอนเตียก –สำหรับโรคไข้ปอนเตียก ก็เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อลีจิโอเนลลาเช่นกัน แต่ไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับโรคลีเจียนแนร์ เพราะโรคไข้ปอนเตียกมักจะหายเองภายใน 2-5 วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษา ส่วนลักษณะอาการจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
โรคระบบทางเดินหายใจ – ห้องแอร์จะปิดประตูหน้าต่างสนิท ทำให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี และหากอยู่ในห้องแอร์ที่เปิดอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา อากาศภายในห้องก็จะแห้งทำให้เซลล์ต่างๆ อย่างเซลล์เยื่อบุโพรงจมูกแห้งลงกว่าเดิมด้วย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในห้องแอร์นานๆ จึงอาจจะป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ เช่น หวัด ภูมิแพ้ เป็นต้น
คำแนะนำจากกรมอนามัย ควรล้างทำความสะอาดแอร์เมื่อไหร่?
แอร์แบบระบบรวม เมื่อไม่ได้ใช้ควรปล่อยน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้ง หลังจากนั้นก็ทำความสะอาดและใช้น้ำยาที่ผสมคลอรีนที่มีความเข้มข้น 10 ppm เข้าไปที่ท่อผึงเย็นให้ทั่วถึง ทั้งระบบอย่างน้อย 3-6 ชั่วโมง แล้วรักษาระดับคลอรีนให้มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 0.2 ppm โดยการทำความสะอาดหอหล่อเย็นอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน
แอร์ในห้องพัก ควรทำความสะอาดถาดรองทุกๆ 1-2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีตะไคร่เกาะและเมื่อเปิดแอร์ ควรสังเกตว่าอากาศที่ออกมาจากแอร์ มีกลิ่นเหม็นกลิ่นอับหรือไม่ หากมีกลิ่นในเบื้องต้นควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศที่อยู่ในแอร์ ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หากล้างทำความสะอาดแล้วกลิ่นไม่หาย ควรเรียกช่างเพื่อทำความสะอาดเต็มระบบ ซึ่งการล้างแอร์เต็มระบบควรล้างอย่างน้อยปีละครั้ง แต่หากใช้เป็นประจำควรล้างอย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง เพราะนอกจากลดเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้ไม่ใช่แค่แอร์แบบระบบรวมและแอร์ในห้องพักเท่านั้นที่จะมีเชื้อโรค เพราะแอร์ในรถยนต์ก็เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมของฝุ่นละออง เป็นที่อยู่ของเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อสุขภาพอนามัยจึงควรล้างตู้แอร์รถยนต์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้วยนั่นเอง
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/health/25427/
12 พ.ค. 2566
โรคควรระวังจากการอยู่ในห้องแอร์ และอันตรายจากการไม่ล้างแอร์
โรคลีเจียนแนร์ –เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อลีจิโอเนลลา โดยการสูดหายใจเอาเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในละอองฝอยน้ำเข้าสู่ร่างกาย ส่วนอาการคือจะมีไข้ขึ้นสูง ไอ หนาวสั่น ลักษณะโรคลีเจียนแนร์จะเป็นชนิดแบบรุนแรง จึงมีภาวะปอดอักเสบด้วย ทำให้การหายใจล้มเหลวและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โรคไข้ปอนเตียก –สำหรับโรคไข้ปอนเตียก ก็เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อลีจิโอเนลลาเช่นกัน แต่ไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับโรคลีเจียนแนร์ เพราะโรคไข้ปอนเตียกมักจะหายเองภายใน 2-5 วัน แม้จะไม่ได้รับการรักษา ส่วนลักษณะอาการจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
โรคระบบทางเดินหายใจ – ห้องแอร์จะปิดประตูหน้าต่างสนิท ทำให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโตได้ดี และหากอยู่ในห้องแอร์ที่เปิดอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา อากาศภายในห้องก็จะแห้งทำให้เซลล์ต่างๆ อย่างเซลล์เยื่อบุโพรงจมูกแห้งลงกว่าเดิมด้วย ดังนั้นผู้ที่อยู่ในห้องแอร์นานๆ จึงอาจจะป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ เช่น หวัด ภูมิแพ้ เป็นต้น
คำแนะนำจากกรมอนามัย ควรล้างทำความสะอาดแอร์เมื่อไหร่?
แอร์แบบระบบรวม เมื่อไม่ได้ใช้ควรปล่อยน้ำทิ้งจากหอหล่อเย็นให้แห้ง หลังจากนั้นก็ทำความสะอาดและใช้น้ำยาที่ผสมคลอรีนที่มีความเข้มข้น 10 ppm เข้าไปที่ท่อผึงเย็นให้ทั่วถึง ทั้งระบบอย่างน้อย 3-6 ชั่วโมง แล้วรักษาระดับคลอรีนให้มีความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 0.2 ppm โดยการทำความสะอาดหอหล่อเย็นอย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อเดือน
แอร์ในห้องพัก ควรทำความสะอาดถาดรองทุกๆ 1-2 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้มีตะไคร่เกาะและเมื่อเปิดแอร์ ควรสังเกตว่าอากาศที่ออกมาจากแอร์ มีกลิ่นเหม็นกลิ่นอับหรือไม่ หากมีกลิ่นในเบื้องต้นควรล้างทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศที่อยู่ในแอร์ ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หากล้างทำความสะอาดแล้วกลิ่นไม่หาย ควรเรียกช่างเพื่อทำความสะอาดเต็มระบบ ซึ่งการล้างแอร์เต็มระบบควรล้างอย่างน้อยปีละครั้ง แต่หากใช้เป็นประจำควรล้างอย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง เพราะนอกจากลดเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยประหยัดไฟฟ้าได้อีกด้วย
ทั้งนี้ไม่ใช่แค่แอร์แบบระบบรวมและแอร์ในห้องพักเท่านั้นที่จะมีเชื้อโรค เพราะแอร์ในรถยนต์ก็เรียกได้ว่าเป็นแหล่งรวมของฝุ่นละออง เป็นที่อยู่ของเชื้อโรค เชื้อรา เชื้อแบคทีเรียหลายชนิด ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นเพื่อสุขภาพอนามัยจึงควรล้างตู้แอร์รถยนต์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งด้วยนั่นเอง
อ้างอิงเนื้อหาจาก https://www.sanook.com/health/25427/
ติดต่อเรา ร้านล้างแอร์ใกล้คุณ
พื้นที่ให้บริการทั่วทั้งกรุงเทพฯ และปริมลฑล ไม่คิดค่าเดินทางเพิ่ม เพราะเรามีสาขาครบทั่วทั้ง 52เขต